วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Introduction to Data Communications and Networking System

Datacom Basic

Telecommunication คือ การสื่อสารข้อมูลสารสนเทศโดยวิธีการทาง

Electronicและโดยทั่วไปจะค่อนข้างไกล ในอดีตจะส่งเฉพาะเสียง

(voice) ในปัจจุบันสามารถส่งสัญญาณ digital ได้

Data Communication คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์

ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นขึ้นไป ผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อที่อยู่ใกล้หรือไกลออกไป

ตัวอย่างของ Data Communication

- การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างธนาคารกับเครื่อง ATM

- บริการขายตั๋วระบบ On-line (เครื่องบิน,รถโดยสาร,การขนส่ง)

- Internet


ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์(Network Types)

1. Local Area Network (LAN)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบท้องถิ่น

ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร

มีความเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสูง

ใช้ในองค์กร สำนักงาน เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย,บริษัท

สามารถเชื่อมต่อการเครือข่าย อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตได้

2. Metropolitan Area Network (MAN)

เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณ 50 กิโลเมตร

ครอบคลุมพื้นที่อาณาบริเวณทั้งตำบล หรือ อำเภอ

อาจเกิดจากการเชื่อมต่อของ LAN หลาย ๆ เครือข่าย

3.Wide Area Network (WAN)

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก

ภายในเครือข่ายประกอบด้วย LAN และ MAN

พื้นที่ครอบคลุมทั้งประเทศ หรือ ทั่วโลก

แบ่งเป็น - Private - Public

หมายเหต Internet เป็นเครือข่ายแบบ Public WAN


องค์ประกอบของการสื่อสาร(Component of data communication)

1.ผู้ส่งข้อมูล (sender)

อุปกรณ์ส่งข้อมูล คือสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการ

2.ผู้รับข้อมูล (Receiver)

อุปกรณ์รับข้อมูล คือสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาให้

3.ข้อมูล (Data) คือข้อมูลที่ถูกส่ง เช่น เสียง ข้อความ ภาพ และอื่น ๆ

4.สื่อนำข้อมูล (Medium) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่าย

ข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับเช่น สายเคเบิ้ล อากาศ น้ำ.

5.โปรโตคอล (Protocol) คือ กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสาร

ข้อมูล ซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องตกลงกันไว้ก่อน


ทิศทางการส่งข้อมูล(Data Flow)

1. Simplex คือ การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว

จะคล้ายกับถนนแบบวันเวย์ที่รถสามารถเดินได้ทางเดียวเท่านั้น

2. Half-duplex คือ การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน

ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถกระทำ

พร้อมกันได้ จะคล้ายกับถนนที่มีอยู่เลนเดียวที่รถสามารถวิ่งได้ทั้ง

สองด้านแต่จะวิ่งสวนกันไม่ได้ ถ้ารถด้านในวิ่งอยู่ อีกด้านหนึ่งจะ

ต้องรอไปก่อน เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ

3. Full-duplex คือ การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน

ทั้งผู้ส่งและผู้รับสามารถทำหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลพร้อมๆกันได้ เปรียบ

เสมือนถนนเส้นหนึ่งที่มีอยู่หลายเลน ทำให้รถสามารถที่จะวิ่งสวน

ทางกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ


เครือข่าย(Network)

ป็นกลุ่มของอุปกรณ์ที่ใช้สื่อสาร ที่ทำการเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อในการ

รับส่งข้อมูล เช่นคอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ หรืออุปกรณ์ใด ๆ ก็ตามที่

สามารถทำการรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์อื่นๆได้

ประเภทของการเชื่อมโยง

1. Point-to-Point แบบจุดต่อจุด

เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์สื่อสารสองตัวเท่านั้น

2. Multipoint

เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารแบบหลายจุด สำหรับการสื่อสารที่มีอุปกรณ์

มากกว่า 2 ตัว


รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์( Topology)

1.Mesh Topology

เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อม

ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูลได้อิสระไม่ต้องรอ

การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องอื่น ๆ

- การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว

- ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลสูง จึงไม่มีผู้นิยมใช้กันมากนัก

- ใช้ในระบบเครือข่ายMAN และWAN

2.Star Topology

- มีการเชื่อมต่อภายในระบบเครือข่ายเป็นแบบดาว โดยมีจุดศูนย์กลาง

ในการเชื่อมต่อ (Hub)จะควบคุมเส้นทางการสื่อสารทั้งหมด

- ทำการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่าน Hub แล้ว HUB

ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

-หากต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ ทำได้ง่ายและไม่กระทบ
ต่อเครื่องอื่นๆเครือข่ายทั้งหมด

-ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลสูงถ้าHubไม่ทำงานการสื่อสารจะหยุด
ชะงักทั้งระบบ

3.Bus Topology

เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อกับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ

- ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย
- ประหยัดค่าใช้จ่าย
- คอมพิวเตอร์เครื่องใดเสียจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม
- การตรวจจุดที่มีปัญหาทำได้ยาก
4.Ring Topology

การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นวงกลม

ทิศทางการส่งจะเป็นทิศทางเดียวเสมอ

- ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย
- หากตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีปัญหาออกจากระบบ จะไม่ส่งผลต่อการ
ทำงานของระบบ

- ไม่มีการชนกันของข้อมูล
- กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดขัดข้อง การส่งข้อมูลจะทำงานต่อ
ไปไม่ได้

5. Hybrid Topology

เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR ,

BUS ,RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา

และเพิ่มข้อดี ขึ้นมามักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network)

มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกัน ของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาณ

เข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน


อินเทอร์เน็ต(Internet)

คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็น

เครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์

ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย

Dialup via modem(Dialup modem)

เป็นรูปแบบการติดต่อระบบอินเตอร์เน็ตด้วยการหมุนโทรศัพท์ คือ
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ด้วยอุปกรณ์ที่
เรียกว่า โมเด็ม (Modem)
ซึ่งให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลประมาณ
56 Kbps ทั้งนี้การติดต่อแต่ละครั้งโดยทั่วไปจะเป็นการขอเข้าใช้งานเครื่อง
รับโมเด็ม
1 เครื่องจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ADSL (Asmmetric Digital Subscriber Line)

เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแบบดิจิตอลที่ช่วยให้ผู้ใช้งาน

สามารถติดต่อสื่อสารอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายระยะไกลได้ด้วยความ

เร็วสูง โดยใช้คู่สายโทรศัพท์ธรรมดา

ADSL มีความเร็วในการรับ (Downstream) และส่ง (Upstream)

ข้อมูลไม่เท่ากันโดยมีความเร็วในการรับข้อมูลสูงสุดถึง 8 Mbps.

และความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสุด 640 Kbps.

- เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงสุดกว่า 140 เท่าเมื่อเทียบ
กับการใช้
Modem แบบ Analog ธรรมดา (ที่ 8 Mbps.)

Cable Modem
คืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ผ่านโครงข่ายใยแก้วนำแสง

(HFC Network )เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง โดยผ่านทางสาย

โทรศัพท์แต่ไม่ต้องมีการหมุนโทรศัพท์ (dial-up) ออกไป

HFC (Hybrid Fiber Coaxial Network)

เป็นโครงข่ายที่ผสมผสานระหว่าง Optical Fiber Cable และ Coaxial

Cable โดยการนำข้อดีของตัวนำแต่ละชนิดมาใช้งานร่วมกัน

มีประสิทธิภาพสูงการส่งสัญญาณไม่ว่าจะเป็นเสียง, ภาพ และข้อมูล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น